งานการเมือง ของ ถวิล ฤกษ์หร่าย

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ต่อมา พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้ง ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2549 จึงวางมือทางการเมือง และสนับสนุนให้บุตรชาย (นายปริญญา ฤกษ์หร่าย) ดำเนินงานทางการเมืองสืบแทน[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ถวิล ฤกษ์หร่าย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคไทยรักไทย

การลงเลือกตั้ง

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา นายถวิลลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้ง จากการเลือกตั้งทั้งหมด 4 ครั้ง ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง[4]

การเลือกตั้งเขตอันดับที่ 1 (ได้รับเลือกตั้ง)อันดับที่ 2 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)อันดับที่ 3 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
พ.ศ. 25445นายถวิล ฤกษ์หร่าย
26,640 คะแนน
(พรรคไทยรักไทย)
นายวุฒิชัย สมชัยมงคล
18,169 คะแนน
(พรรคชาติไทย)
นายรุ่งโรจน์ พัฒนศักดิ์ภิญโญ
11,590 คะแนน
(พรรคประชาธิปัตย์)
พ.ศ. 25485นายถวิล ฤกษ์หร่าย
48,607 คะแนน
(พรรคไทยรักไทย)
นางสาวณัฐกานต์ เสมเพียร
17,959 คะแนน
(พรรคประชาธิปัตย์)
นายอนันต์ยศ นิลโชติ
509 คะแนน
(พรรคประชาชนไทย)
วางมือทางการเมือง